26/01/2021
โดย Champ Milework
คอยล์จุดระเบิดเสื่อมสภาพ(Ignition coil) สาเหตุเครื่องสั่น เครื่องสะดุด เร่งไม่ขึ้น เดินไม่เต็มสูบ
คอยล์หัวเทียน (Ignition coil) คืออะไร?
ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ การจุดระเบิดจำเป็นต้องอาศัยประกายไฟและเชื้อเพลิงรวมถึงอากาศ(ออกซิเจน) เป็นส่วนประกอบจึงจะเกิดการระเบิดได้ คอยล์หัวเทียนคืออุปกรณ์ที่ช่วยสร้างประกายไฟในห้องจุดระเบิดของเครื่องยนต์ หน้าตาเป็นรูปทรงกระบอกกลมๆเสียบอยู่ด้านบนของเครื่องโดยส่วนใหญ่ เมื่อเปิดฝาเครื่องออกจะเห็นคอยล์หัวเทียนเสียบปลั๊กไฟอยู่ คอยล์หัวเทียนนี้อยู่ในรถยนต์เบนซินเท่านั้น (ดีเซลจะไม่ใช้ระบบนี้)
หลักการทำงานของคอยล์หัวเทียน (Ignition coil)
การทำงานของคอยล์วเทียนคือทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่จาก 12v เป็น 20,000-40,000v เพื่อสร้างไฟฟ้าแรงดันสูงไปยังหัวเทียน สำหรับจุดประกายไฟ(ไฟฟ้าแรงดันต่ำไม่สามารถจุดประกายไฟได้จึงต้องมีตัวแปลงแรงดันไฟฟ้า) โดยภายในคอยล์หัวเทียนจะมีขดลวดใหญ่เรียกว่าขดลวดปฐมภูมิ พันรอบขดลวดเล็กเรียกว่า ขดลวดทุติยภูมิเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อให้เกิดแรงดันไฟฟ้าที่มากขึ้น เพื่อจุดประกายไฟสำหรับจุดระเบิดเครื่องยนต์นั่นเอง
เช็คราคาคอยล์หัวเทียนคลิก : https://www.milework.com/index.php?subcats=Y&pcode...
ประเภทของคอยล์หัวเทียน (Ignition coil)
- คอยล์จานจ่าน ยุคเก่า คาบูเรเตอร์ คอยล์แยกส่วน สมัยนั้นหากคอยล์ร้อน เราต้องเอาผ้าชุบน้ำไปโปะไว้เพื่อให้อุณหภูมิเย็นลง คือใช้คอยล์หัวเทียนตัวเดียว จ่ายไฟไปยังหัวเทียน ซึ่งถ้าเสียคือจบเกมทันที
- ไดเรคคอยล์ 1 หัวเทียน 1 คอยล์ รถยนต์รุ่นใหม่ 1 สูบ ใช้ 1 คอยล์ ส่วนใหญ่ตัวไหนเสียก็เปลี่ยนตัวนั้น ถ้าเครื่องมี 4 สูบ ก็มี 4 คอยล์ แต่ช่างที่ศูนย์ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนหมดเลย ดังนั้นเราต้องมีความรู้ว่าถ้าตัวไหนเสีย เราเปลี่ยนเฉพาะตัวนั้น ซึ่งรุ่นใหม่นี้หากเสียเพียงตัวเดียว เครื่องยนต์ก็จะยังสามารถทำงานต่อได้ แต่ไม่เต็มประสิทธิภาพเหมือนเดิม
- ดูโอคอยล์ เแตกต่างจาก Direct Coil ตรงที่ 1 คอยล์มี 2 สูบ ดังนั้น รถ 4 สูบมีคอยล์ 2 ตัวครับ
ทั้งนี้เมื่อลองสอบถามจากช่างเนส แน่นอนว่า Direct Coil เป็นประเภทที่ดีที่สุดครับผม

อาการคอยล์หัวเทียน(Ignition coil) ร้อน รั่ว เสื่อมสภาพ
รถติดแก๊สจะเกิดปัญหาได้ง่าย เพราะเกิดความร้อนสูง แต่รถที่ใช้น้ำมันเองก็สามารถเกิดอาการคอยล์หัวเทียนเสื่อมได้เช่นกัน คอยล์หัวเทียนก็เหมือนกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป ซึ่งย่อมมีอายุการใช้งาน มีวันเสื่อมสภาพ โดยส่วนใหญ่แล้วควรเปลี่ยนทุก 100,000 กิโลเมตรเพื่อป้องกันการเกิดปัญหา รั่ว เสีย เสื่อมสภาพ โดยหากเกิดอาการจะสังเกตุได้ดังนี้
- เครื่องเดินสะดุด ไม่ค่อยมีกำลัง เร่งไม่ขึ้น
- รอบเดินเบา เร่งออกตัวดับ
- เครื่องสะดุด และจะเป็นมากขึ้นเมื่อคอมพ์แอร์ทำงาน เนื่องจากกำลังไฟฟ้าไม่เพียงพอ เกิดอาการโหลด
- อาจมีไฟเตือนโชว์ที่แผงหน้าปัด ระบบไฟที่เกี่ยวข้อง
- หนักที่สุดคือ คอยล์ไหม้ ฟิวส์ขาด

สาเหตุที่ทำให้คอยล์หัวเทียน(Ignition coil) เสีย
- แรงสั่นสะเทือน แรงกระแทกขณะขับรถ หรือเกิดอุบัติเหตุ
- ความชื้น หรือ โดนน้ำ ทำให้เกิดอาการช๊อตได้
- ความร้อนจากการทำงานของเครื่องยนต์โดยเฉพาะเวลาที่ใช้เชื้อเพลิงความร้อนสูง เช่น ก๊าช LPG
วิธีการดูแลรักษาคอยล์หัวเทียน(Ignition coil)
- รถยนต์ขนาดเล็กหากขับทางไกล ควรจอดพักทุก 300 กิโลเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิสูงเกินไปจนเกิดอาการไหม้ได้
- พยายามหลีกเลี่ยงการใช้เชื้อเพลิงแก๊ส LPG / NGV เพราะอุณหภูมิสูงจะทำให้อายุการใช้งานคอยล์หัวเทียนสั้นลง
- หลีกเลี่ยงการฉีดน้ำล้างในห้องเครื่อง เพราะความชื้นอาจก่อให้เกิดการรั่วของกระแสไฟฟ้าได้
- หากต้องขับผ่านลูกระนาด หรือถนนที่เป็นหลุมบ่อ ควรขับด้วยความเร็วต่ำ เพราะแรงสั่นสะเทือนอาจทำให้อุปกรณ์ต่างๆรวมถึงคอยล์หัวเทียนเสียหายได้
Line ID: @milework
